วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

# ขั้นตอนการผลิตสื่อCAI



             CAI หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง วิธีการเรียนการสอน ที่ใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่ง ออกแบบไว้ เพื่อนำเสนอบทเรียนแทนผู้สอน และผู้เรียน สามารถ เรียนได้ด้วยตนเอง ตามลำดับขั้นตอน การเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ โดยมีการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับ คอมพิวเตอร์ และผู้เรียนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที


        

การผลิตสื่อ CAI มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้
1 ขั้นการเตรียมการ ( Preparation)
     ขั้นตอนการเตรียมนี้ ผู้ออกแบบ จะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์  เตรียมการโดยรวบรวมข้อมูล  เรียนรู้เนื้อหา เพื่อให้เกิดการสร้างหรือระดมความคิด  ขั้นตอนการเตรียมนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากตอนหนึ่ง ที่ผู้ออกแบบต้องใช้เวลาให้มาก  เพราะการเตรียมพร้อมในส่วนนี้  จะทำให้ขั้นตอนต่อไปในการออกแบบเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
2 ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน ( Design Instruction)
     ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่ง  ในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมาในลักษณะใด ซึ่งมีขั้นตอนในการออกแบบ ดังนี้
       - ทอนความคิด ( Elimination of Ideals)
       - วิเคราะห์งาน และแนวคิด ( Task and Concept Analysis)
       - การออกแบบบทเรียนขั้นแรก ( Preliminary lesson Description)
       - ประเมิน และแก้ไขการออกแบบ ( Evaluation and revision of the design)
3 ขั้นตอนการเขียนผังงาน ( Flow-chart Lesson)
       ผังงานคือชุดของสัญลักษณ์ต่างๆ   ซึ่งอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นการ นำเสนอ ลำดับขั้นตอน โครงสร้างของบทเรียน คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน และทำหน้าที่เสนอข้อมูล เกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อผู้เรียนตอบ คำถามผิด หรือ เมื่อไรที่จะมีการจบบทเรียน
4 ขั้นตอนการสร้าง สตอรี่บอร์ด ( Create Storyboard)
       การสร้างสตอรี่บอร์ดเป็นขั้นตอนของการนำเสนอเนื้อหาและลักษณะของการนำเสนอเนื้อหา  และลักษณะของการนำเสนอด้วยข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียลงบนกระดาษ ก่อนที่จะนำเสนอบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป  ในขั้นนี้ควรมีการประเมินและทบทวน แก้ไขบทเรียนจากสตอรี่บอร์ดนี้  จนกระทั่งผู้ร่วมงานในทีมทุกฝ่ายพอใจกับคุณภาพของบทเรียนเสียก่อน  ผู้มีส่วนร่วมในการประเมินคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อช่วยในการตรวจสอบเนื้อหาที่อาจจะสับสน ไม่ชัดเจน ตกหล่น และเนื้อหาที่อาจจะยาก หรือง่ายเกินไป สำหรับผู้เรียน
5 ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรรแกรม ( Program Lesson)
        ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมนี้  เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเขียนโปรแกรมนั้นอาจใช้โปรแกรมภาษาต่างๆ เช่น เบสิก ปาสคาล หรือใช้โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวตเอร์ช่วยสอน เช่น Authoware, Toolbook  ปัจจัยหลักในการพิจารณาโปรแกรมช่วยสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เหมาะสมนั้น ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ต้องการสร้าง ประสบการณ์ของผู้สร้าง(โปรแกรมเมอร์) และด้านงบประมาณ
6 ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบบทเรียน ( Design Instruction)
         เอกสารประกอบบทเรียน อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆไป (เช่น ใบงาน) ผู้สอนอาจต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรม การเข้าไปดูข้อมูลผู้เรียน และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในหลักสูตร  ผู้เรียนอาจต้องการข้อมูลในการจัดการกับบทเรียน และการสืบไปในบทเรียน  คู่มือปัญหา เทคนิค ก็มีความจำเป็น หากการติดตั้งบทเรียน มีความสลับซับซ้อน หรือต้องการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์อื่นๆ  เช่น การติดตั้ง แลน เอกสารเพิ่มเติมประกอบ อาจได้แก่ แผนภาพ ข้อสอบ ภาพประกอบ
7 ขั้นตอนการประเมิน และแก้ไข บทเรียน ( Evaluate and Revise)
        ในช่วงสุดท้าย เป็นการประเมินบทเรียน และเอกสารประกอบทั้งหมด โดยเฉพาะ การประเมินในส่วนของการนำเสนอ และการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้น ผู้ที่ควรจะทำการประเมินคือ ผู้ที่เคยมีประสบการในการ ออกแบบมาก่อน ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในขณะที่ใช้บทเรียน หรือสัมภาษณ์ ผู้เรียน หลังการใช้บทเรียน นอกจากนี้ ยังอาจทดสอบ ความรู้ขอผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียน จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว ขั้นตอนนี้ อาจครอบคลุม การทดสอบนำร่อง และประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ

        ดังนั้นสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น