วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

# วิดีโอคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทสอนเนื้อหารายละเอียด (tutorial instruction )

วิดีโอคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทสอนเนื้อหารายละเอียด (tutorial instruction ) 
สามารถเข้าชมในลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

# Bloom’ Taxonomy



Bloom’ Taxonomy
         บลูม (Bloom.1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบ ความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง และบลูมได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้น ฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives 


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม 
   
Bloom’s Taxonomy กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ Anderson and Krathwohl (2001) เป็น
1.การจำ(Remembering)
2.การเข้าใจ(Understanding)
3.การประยุกต์ใช้(Applying)
4. การวิเคราะห์ (Analysing)
5.การประเมินผล (Evaluating)
6.และการสร้างสรรค์ (Creating)
 ด้านจิตพิสัย จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม, การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย จำแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมๆกัน, ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ  (Bloom's Taxonomy)
1.ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2.ความเข้าใจ (Comprehend) 
3.การประยุกต์ (Application)
4.การวิเคราะห์ ( Analysis)
สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5.การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6.การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด 

ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
1.ความรู้ความจำ ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์
ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้ สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4. การวิเคราะห์
ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5. การสังเคราะห์
ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
6. การประเมินค่า
เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้



2.จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัย จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้ ... เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง ...เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม ... การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ ... การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์
ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
5. บุคลิกภาพ ... การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ
จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้ 


3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้ ... เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2.กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ... เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3.การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4. การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ

5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปฏิบัติ ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง

# ขั้นตอนการผลิตสื่อCAI



             CAI หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง วิธีการเรียนการสอน ที่ใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่ง ออกแบบไว้ เพื่อนำเสนอบทเรียนแทนผู้สอน และผู้เรียน สามารถ เรียนได้ด้วยตนเอง ตามลำดับขั้นตอน การเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ โดยมีการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับ คอมพิวเตอร์ และผู้เรียนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที


        

การผลิตสื่อ CAI มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้
1 ขั้นการเตรียมการ ( Preparation)
     ขั้นตอนการเตรียมนี้ ผู้ออกแบบ จะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์  เตรียมการโดยรวบรวมข้อมูล  เรียนรู้เนื้อหา เพื่อให้เกิดการสร้างหรือระดมความคิด  ขั้นตอนการเตรียมนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากตอนหนึ่ง ที่ผู้ออกแบบต้องใช้เวลาให้มาก  เพราะการเตรียมพร้อมในส่วนนี้  จะทำให้ขั้นตอนต่อไปในการออกแบบเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
2 ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน ( Design Instruction)
     ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่ง  ในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมาในลักษณะใด ซึ่งมีขั้นตอนในการออกแบบ ดังนี้
       - ทอนความคิด ( Elimination of Ideals)
       - วิเคราะห์งาน และแนวคิด ( Task and Concept Analysis)
       - การออกแบบบทเรียนขั้นแรก ( Preliminary lesson Description)
       - ประเมิน และแก้ไขการออกแบบ ( Evaluation and revision of the design)
3 ขั้นตอนการเขียนผังงาน ( Flow-chart Lesson)
       ผังงานคือชุดของสัญลักษณ์ต่างๆ   ซึ่งอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นการ นำเสนอ ลำดับขั้นตอน โครงสร้างของบทเรียน คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน และทำหน้าที่เสนอข้อมูล เกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อผู้เรียนตอบ คำถามผิด หรือ เมื่อไรที่จะมีการจบบทเรียน
4 ขั้นตอนการสร้าง สตอรี่บอร์ด ( Create Storyboard)
       การสร้างสตอรี่บอร์ดเป็นขั้นตอนของการนำเสนอเนื้อหาและลักษณะของการนำเสนอเนื้อหา  และลักษณะของการนำเสนอด้วยข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียลงบนกระดาษ ก่อนที่จะนำเสนอบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป  ในขั้นนี้ควรมีการประเมินและทบทวน แก้ไขบทเรียนจากสตอรี่บอร์ดนี้  จนกระทั่งผู้ร่วมงานในทีมทุกฝ่ายพอใจกับคุณภาพของบทเรียนเสียก่อน  ผู้มีส่วนร่วมในการประเมินคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อช่วยในการตรวจสอบเนื้อหาที่อาจจะสับสน ไม่ชัดเจน ตกหล่น และเนื้อหาที่อาจจะยาก หรือง่ายเกินไป สำหรับผู้เรียน
5 ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรรแกรม ( Program Lesson)
        ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมนี้  เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเขียนโปรแกรมนั้นอาจใช้โปรแกรมภาษาต่างๆ เช่น เบสิก ปาสคาล หรือใช้โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวตเอร์ช่วยสอน เช่น Authoware, Toolbook  ปัจจัยหลักในการพิจารณาโปรแกรมช่วยสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เหมาะสมนั้น ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ต้องการสร้าง ประสบการณ์ของผู้สร้าง(โปรแกรมเมอร์) และด้านงบประมาณ
6 ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบบทเรียน ( Design Instruction)
         เอกสารประกอบบทเรียน อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆไป (เช่น ใบงาน) ผู้สอนอาจต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรม การเข้าไปดูข้อมูลผู้เรียน และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในหลักสูตร  ผู้เรียนอาจต้องการข้อมูลในการจัดการกับบทเรียน และการสืบไปในบทเรียน  คู่มือปัญหา เทคนิค ก็มีความจำเป็น หากการติดตั้งบทเรียน มีความสลับซับซ้อน หรือต้องการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์อื่นๆ  เช่น การติดตั้ง แลน เอกสารเพิ่มเติมประกอบ อาจได้แก่ แผนภาพ ข้อสอบ ภาพประกอบ
7 ขั้นตอนการประเมิน และแก้ไข บทเรียน ( Evaluate and Revise)
        ในช่วงสุดท้าย เป็นการประเมินบทเรียน และเอกสารประกอบทั้งหมด โดยเฉพาะ การประเมินในส่วนของการนำเสนอ และการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้น ผู้ที่ควรจะทำการประเมินคือ ผู้ที่เคยมีประสบการในการ ออกแบบมาก่อน ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในขณะที่ใช้บทเรียน หรือสัมภาษณ์ ผู้เรียน หลังการใช้บทเรียน นอกจากนี้ ยังอาจทดสอบ ความรู้ขอผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียน จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว ขั้นตอนนี้ อาจครอบคลุม การทดสอบนำร่อง และประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ

        ดังนั้นสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

# การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน


การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
       คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา  มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษา การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไป จนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตร
Robert Taylor นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ไว้ในหนังสือ the Computer in the School : Tutor, Tutee โดยได้แบ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนออกเป็น 3 ลักษณะคือ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์ การเรียนการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน ซึ่งได้มีนักวิชาการบางท่านเห็นว่ายังคง ขาดในส่วนที่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้วย จึงได้มีผู้แยกประเภทของการจัดการใช้ คอมพิวเตอร์ไปอย่างมากมาย ในที่นี้จะทำการแบ่งการนำคอมพิวเตอร์ ออกเป็น 2 ส่วน คือ
           - Computer-Managed Instruction : CMI การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ครูผู้สอนนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดทำสื่อ การเรียนการสอน แผนกวิชาการ นำคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดตารางสอน การลงทะเบียนเรียน ระเบียนนักเรียน ทำบัตรประจำตัวนักเรียน การจัดตารางการเรียนการสอน เป็นต้น สำหรับในด้านการบริหารแล้ว ผู้บริหาร ก็สามารถที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูล จัดทำงบประมาณของแต่ละปี พร้อมทั้งสร้างตาราง และ แผนภูมิเพื่อนำเสนอผลงานผ่านทางจอภาพต่อไป ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งานเท่านั้น
         - Computer-Assisted Instruction : CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ทำบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้หรืออาจเป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้กับผู้เรียนก็เป็นได้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทั่วไป สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้
1. สอนเนื้อหารายละเอียด (Tutorials)
      โปรแกรมช่วยสอนเนื้อหารายละเอียด หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้ เรียนรู้ เนื้อหาหรือหลักการใหม่ๆ ด้วยการเสนอเนื้อหาและคำถามคำตอบระหว่างบทเรียนและนักเรียน โปรแกรมจะแสดงเนื้อหาที่จะสอนแล้วตั้งคำถามให้ นักเรียนตอบต่อจากนั้นโปรแกรมจะวิเคราะห์คำตอบแล้วตัดสินว่าจะแสดงเนื้อหาต่อไปหรือให้นักเรียนตอบคำถามใหม่ หรือจะแสดงคำอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมแลโปรแกรมช่วยสอนนี้ยังรวมถึงวิธีการแนะนำให้นักเรียนตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยการให้แนวทางแก่นักเรียนเพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้อง เช่นการสอนเนื้อหาเรื่องการหามุมของสามเหลี่ยม
2. การฝึกทักษะ (Drill and Practice)
      หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหารายละเอียดแล้วสิ่งจำเป็นคือการมีโอกาสได้ฝึกทักษะ นำความรู้ ที่ได้เรียนแล้วไปใช้ได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วหรือที่เรียกกันว่าใช้ได้โดยอัตโนมัติ การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการฝึกทักษะได้เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากมีความชัดเจนในการนำมาใช้เฉพาะวัตถุประสงค์ นอกจากนี้โปรแกรมการฝึกทักษะยังสร้างได้ง่ายกว่าโปรแกรมการสอนเนื้อหารายละเอียดที่ ได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ก่อนโปรแกรมการฝึกทักษะอาจเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะเฉพาะอย่าง เช่น ทักษะการบวกเลข ทักษะด้านคำศัพท์ ทักษะการอ่านแผนที่ เป็นต้นโปรแกรมประเภทนี้นิยมใช้กันมากในวิชาคณิตศาสตร์ การเรียนภาษา หรือภาษาต่างประเทศการฝึกทักษะเหล่านี้มักจะใช้ คำถามเป็นจำนวนมากซึ่งบางครั้งเรียกว่าคลังข้อคำถาม(Item Pool) นอกจากนี้ข้อคำถามที่ดีควรได้ ผ่านการวิเคราะห์ค่าสถิติ เช่นระดับความยาก-ง่าย อำนาจจำแนก เป็นต้น โปรแกรมการฝึกทักษะที่ดีควรมีการประเมินข้อบกพร่องของนักเรียนว่าจำเป็นต้องฝึกหัดที่ระดับความรู้ระดับใด และบอกสาเหตุของความบกพร่องในการตอบผิด เช่น การฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องของรูปทรง
3. การจำลองสถานการณ์ (Simulations)
      โปรแกรมการจำลองสถานการณ์ในการเรียนการสอน เป็นวิธีการเลียนแบบหรือสร้างสถานการณ์เพื่อทดแทนสภาพจริงในชีวิตประจำวัน สำหรับการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเนื่องจากในบางครั้งการฝึกและทดลองจริงอาจมีราคาแพง หรือมีความเสี่ยงอันตรายสูง เช่น การจำลองสถานการณ์การบิน การจำลองการเกิดปฏิกิริยาของนิวเคลียร์ หรือการจำลองการทำงานของแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
ซึ่งการจำลองสถานการณ์ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมด้วย เช่นการควบคุมเหตุการณ์การตัดสินใจ การโต้ตอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จำลองได้โดยที่ในชีวิตจริงนักเรียนไม่อาจสามารถแสดงปฏิกิริยาเหล่านี้ ได้ อย่างไรก็ตามในสถานการณ์จำลองย่อมลดความยุ่ งยากซับซ้อนให้น้อยกว่าเหตุการณ์จริงเช่น ลดรายละเอียด ลดโอกาสที่จะเกิดขึ้น เป็นต้น และในสถานการณ์จำลองนี้นักเรียนต้องแก้ใขปัญหาโดยการเรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการด้วยตนเองจนเกิดความเข้าใจในคุณลักษณะต่างๆในที่สุด รวมทั้งการเรียนรู้วิธีการควบคุมเหตุการณ์เหล่านั้น หรือเรียนรู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จุดมุ่งหมายของการใช้โปรแกรมสถานการณ์จำลอง เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ สร้างรูปแบบการทดสอบเหตุการณ์ต่างๆอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเช่น การจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้าซึ่ง

4. เกมการสอน (Instructional games)
      การใช้โปรแกรมเกมเพื่อการสอนกำลังเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากเป็นสิ่ง ที่ท้าทายความมานะพยายามและสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้โดยง่าย นอกจากนี้การใช้เกมยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้ดีขึ้นเนื่องจากมีภาพ แสงสี เสียงและกราฟิกที่ มีการเคลื่อนไหวได้ จึงทำให้นักเรี ยนตื่นตัวอยู่เสมอ รูปแบบของโปรแกรมเกมเพื่อการสอนคล้ายคลึงกับโปรแกรมบทเรียนสถานการณ์จำลองแต่แตกต่างกัน โดยการเพิ่มบทบาทของนักเรียนเข้าไปในการใช้โปรแกรมเกมการสอนด้วย
5. การทดสอบ (Tests)

      การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทดสอบ มี บทบาทในการเป็นเครื่องมือประเมินผลการเรียนของนักเรียนทั้งก่อนเริ่มเรียน ระหว่างเรียนและหลังการเรียน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้สอนมีความรู้สึกเป็นอิสระจากการกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการทดสอบอีกด้วย เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยเปลี่ยนแปลงการทดสอบแบบเดิมๆให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนได้โดยอาจจะให้ผลย้อนกลับโดยทันทีหรือประเมินผลหลังจากทำแบบทดสอบเสร็จ ซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไป ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือ ช่วยลดความ แตกต่างระหว่างผู้เรียน เช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ ก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้าก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอน ก็เป็นได้



วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

# Google Docs คืออะไร/การใช้งาน



Google Docs หรือ Google Documents เป็นโปรแกรมประยุกต์บนเว็บฟรี ซึ่งเอกสารและกระดาษทำการสามารถได้รับการสร้าง แก้ไข และจัดเก็บแบบออนไลน์ ไฟล์สามารถเข้าถึงจากคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและ Web browser ส่วนการทำงานเต็มGoogle Docs เป็นส่วนหนึ่งในแพ็คเกจครอบคลุมของโปรแกรมประยุกต์ออนไลน์ที่เสนอโดยและสัมพันธ์กับ Googleผู้ใช้ Google Docs สามารถนาเข้า สร้าง แก้ไข และปรับปรุงเอกสารและกระดาษทาการในฟอนต์และรูปแบบไฟล์ต่างๆ รวมข้อความเข้ากับสูตร, list, ตาราง และภาพGoogle Docs สอดคล้องกับซอฟต์แวร์และ word processor ส่วนใหญ่ งานนี้สามารถเผยแพร่เป็นเว็บเพ็จหรือเพ็จพร้อมพิมพ์ ผู้ใช้สามารถควบคุม  Google Docs เป็นความคิดสำหรับการเผยแพร่ภายในองค์กร บำรุงรักษาบล็อกหรืองานเขียนสาหรับการดูโดยสาธารณะทั่วไปGoogle Docs ให้ยืมตัวเองเพื่อร่วมกับโครงงานซึ่งมีผู้เขียนหลายคนทางานร่วมกันในเวลาจริง (real time) จากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ต่างกัน ผู้เข้าร่วมทั้งหมดสามารถเห็นผู้ทำเอกสารเฉพาะเปลี่ยนและเมื่อมีการแก้ไข เนื่องเอกสารได้รับการจัดเก็บออนไลน์ 
             Google Documents รองรับรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่ ได้แก่ DOC, XLS, ODT, ODS, RTF, CSV และ PPT เป็นต้น คุณจึงสามารถทำงานต่อไปและอัปโหลดไฟล์ของคุณที่มีอยู่ได้ สามารถจัดเก็บบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ จึงไม่มีความเสี่ยงต่อข้อมูลสูญหายเหมือนกับการจัดเก็บธรรมดา 
             การเข้าใช้งาน สเปรตชีตออนไลน์ของ Google หรือ Google Docs นั้น สามารถใช้งานผ่านเว็บ http://www.google.co.th หรือ http://www.google.com โดยมีขั้นตอนการเข้าใช้งานดังนี้ 1) เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บ Google แล้ว ให้สังเกตแถบเครื่องมือด้านบน ให้เลือกเอกสาร เพื่อเข้าสู่หน้า Google Docs หรือ Google ลงทะเบียนเข้าใช้งาน โดยใช้ Username และ Password เดียวกับ Gmailซึ่งเป็นบริการอีเมลของ Google ได้ทันที แต่หากยังไม่มี ก็ต้องสมัครใช้งาน Gmail ก่อน 

          การใช้งานเบื้องต้น 
         การสร้างงานเอกสารออนไลน์ใน Google Docs เอกสารออนไลน์ บน Google Docs การใช้งานเอกสารนั้น ให้ไปที่แถบเมนูทางซ้ายแล้วเลือก สร้างใหม่ > เอกสาร เมื่อเข้าสู่หน้าเอกสารใหม่ ก็จะสามารถใช้งานเอกสารของ Google ได้ 
     1. การนำเข้าเอกสาร เอกสารออนไลน์ของ Google นั้น สามารถพิมพ์เพื่อ กรอกข้อมูลต่างๆ ได้โดยตรงเช่นเดียวกับโปรแกรมเอกสารอื่นๆ แต่หากต้องการนาเข้า เอกสารที่มีอยูแล้วในเครื่องเพื่อแก้ไขหรือเผยแพร่ต่อไปนั้นก็สามารถทาได้ดังนี้ ่ 
              1) ไปทีแถบเมนูด้านบน แล้วเลือกเมนู ไฟล์ > เปิด 
              2) เลือกไฟล์ที่มีอยู่แล้วบนระบบ หรือถ้าต้องการนำเข้าจากเครื่อง เลือก ลักษณะการนำเข้า แล้วกดปุ่ม อัพโหลด >                    ไฟล์ แล้วไฟล์ที่เลือกจะปรากฏ ของ Google ให้สามารถแก้ไขหรือแบ่งปันได้ต่อไป 
     2. แนะนำเครืองมือเบื้องต้น  เครื่องมือปรับแต่งแบบอักษร สามารถปรับขนาด ลักษณะและสีของ ตัวอักษรได้ 2) เครื่องมือปรับตาแหน่งของข้อความ โดยสามารถปรับตาแหน่งให้อยู่ ทางซ้าย ตรงกลาง หรือทางขวาได้ โดยสามารถเลือกใช้การกระจายแบบไทยได้ด้วย 
     3. การบันทึก สามารถบันทึกเอกสารในรูปแบบเอกสารออนไลน์หรือดาวน์ โหลดเป็นไฟล์ต่างๆ เพื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ ดาวน์โหลดเป็นไฟล์ต่างๆ ให้ไปที่ ไฟล์ > ดาวน์โหลดเป็น แล้วเลือก นามสกุลไฟล์ทต้องการบันทึก

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

# บริการออนไลน์ของ Google Drive

   Google ไดรฟ์
    Google ไดรฟ์เป็นศูนย์รวมในการเก็บ เข้าถึง สร้าง แก้ไข และแชร์เอกสาร ไฟล์ และโฟลเดอร์ทุกประเภท เมื่อคุณสร้างเอกสารใหม่จาก Google ไดรฟ์ โดยทั่วไปแล้ว คุณจะสร้าง Google เอกสาร แผ่นงาน และสไลด์ทางออนไลน์
·         Google เอกสาร, แผ่นงาน และสไลด์ หมายถึงเครื่องมือแก้ไขทางเว็บสำหรับสร้าง แก้ไข และแชร์ Google เอกสาร สเปรดชีต และงานนำเสนอ นอกจากนี้ ยังมีตัวแก้ไขทางเว็บเพื่อสร้างภาพวาด แบบฟอร์ม และตารางฟิวชัน เอกสารออนไลน์เหล่านี้จะมีการทำงานร่วมกับบริการอื่นๆ ของ Google Apps อย่างใกล้ชิดและมีคุณลักษณะการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก
หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม โปรดดู ภาพรวมของ Google เอกสาร, แผ่นงาน และสไลด์ สำหรับผู้ใช้
·         Google ไดรฟ์ คือศูนย์รวมในการจัดการไฟล์ทั้งหมดของคุณ อันได้แก่ Google เอกสาร, แผ่นงาน, สไลด์ และเอกสารออนไลน์ประเภทอื่นๆ ของ Google
ให้คิดว่า Google ไดรฟ์คือที่เก็บไฟล์และโฟลเดอร์ส่วนตัวของคุณ ซึ่งจะติดตามคุณไปทุกที่ ทำให้คุณสามารถเก็บได้ทุกอย่าง และแบ่งปันได้ครบครัน เมื่อใช้ Google ไดรฟ์ คุณจะสามารถเข้าถึงไฟล์ โฟลเดอร์ และ Google เอกสาร, แผ่นงาน และสไลด์ได้จากเว็บเบราว์เซอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่คุณติดตั้ง Google ไดรฟ์ไว้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับอุปกรณ์ของคุณ ไฟล์ของคุณจะถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยใน Google ไดรฟ์ คุณสามารถเก็บได้ทุกอย่างในราคาเพียงนิดเดียว

คุณสามารถใช้ Google ไดรฟ์เพื่อเก็บไฟล์ทุกประเภท รวมถึงเอกสาร งานนำเสนอ เพลง รูปภาพ และวิดีโอ คุณสามารถ 
เปิดไฟล์ได้หลายประเภท ได้จากในเบราว์เซอร์ รวมถึง PDF, ไฟล์ Microsoft Office, วิดีโอความละเอียดสูง และไฟล์ภาพประเภทต่างๆ มากมาย แม้ว่าคุณจะไม่มีโปรแกรมนั้นๆ ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ก็ตาม

Google ไดรฟ์จะเก็บทุกอย่างให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้คุณสามารถแก้ไขและเข้าถึงเวอร์ชันล่าสุดได้จากทุกที่ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน

Google ไดรฟ์มีวิธีดู ค้นหา และจัดเรียงไฟล์ได้หลายวิธี ผลิตภัณฑ์นี้มีตัวเลือกในการค้นหาที่มีประสิทธิภาพ และสามารถค้นหาได้แม้กระทั่งข้อความที่อยู่ในภาพ เพื่อให้คุณสามารถค้นพบสิ่งที่ต้องการได้รวดเร็ว


วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

# ผู้จัดทำ

นางสาว อรุโณทัย ดอกบัว
รหัส 5504041707
คณะศึกษาศาสตร์ ภาคหลักสูตรและการสอน วิชาเอก-ภาษาจีน / วิชาโท - เทคโนโลยีการศึกษา