การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา
หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา
ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษา
การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไป จนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตร
Robert Taylor นักเทคโนโลยีการศึกษา
ได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ไว้ในหนังสือ the Computer in the
School : Tutor, Tutee โดยได้แบ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนออกเป็น
3 ลักษณะคือ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของคอมพิวเตอร์
การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์
การเรียนการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน
ซึ่งได้มีนักวิชาการบางท่านเห็นว่ายังคง
ขาดในส่วนที่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้วย
จึงได้มีผู้แยกประเภทของการจัดการใช้ คอมพิวเตอร์ไปอย่างมากมาย ในที่นี้จะทำการแบ่งการนำคอมพิวเตอร์
ออกเป็น 2 ส่วน คือ
- Computer-Managed Instruction :
CMI การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ครูผู้สอนนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดทำสื่อ
การเรียนการสอน แผนกวิชาการ นำคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดตารางสอน การลงทะเบียนเรียน
ระเบียนนักเรียน ทำบัตรประจำตัวนักเรียน การจัดตารางการเรียนการสอน เป็นต้น
สำหรับในด้านการบริหารแล้ว ผู้บริหาร
ก็สามารถที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูล จัดทำงบประมาณของแต่ละปี
พร้อมทั้งสร้างตาราง และ แผนภูมิเพื่อนำเสนอผลงานผ่านทางจอภาพต่อไป
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งานเท่านั้น
- Computer-Assisted Instruction : CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา
ทำบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้หรืออาจเป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้กับผู้เรียนก็เป็นได้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทั่วไป สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้
1. สอนเนื้อหารายละเอียด
(Tutorials)
โปรแกรมช่วยสอนเนื้อหารายละเอียด หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้
เรียนรู้ เนื้อหาหรือหลักการใหม่ๆ
ด้วยการเสนอเนื้อหาและคำถามคำตอบระหว่างบทเรียนและนักเรียน
โปรแกรมจะแสดงเนื้อหาที่จะสอนแล้วตั้งคำถามให้
นักเรียนตอบต่อจากนั้นโปรแกรมจะวิเคราะห์คำตอบแล้วตัดสินว่าจะแสดงเนื้อหาต่อไปหรือให้นักเรียนตอบคำถามใหม่
หรือจะแสดงคำอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมแลโปรแกรมช่วยสอนนี้ยังรวมถึงวิธีการแนะนำให้นักเรียนตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ด้วยการให้แนวทางแก่นักเรียนเพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
เช่นการสอนเนื้อหาเรื่องการหามุมของสามเหลี่ยม
2. การฝึกทักษะ (Drill
and Practice)
หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหารายละเอียดแล้วสิ่งจำเป็นคือการมีโอกาสได้ฝึกทักษะ นำความรู้
ที่ได้เรียนแล้วไปใช้ได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วหรือที่เรียกกันว่าใช้ได้โดยอัตโนมัติ
การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการฝึกทักษะได้เป็นที่นิยมกันมาก
เนื่องจากมีความชัดเจนในการนำมาใช้เฉพาะวัตถุประสงค์
นอกจากนี้โปรแกรมการฝึกทักษะยังสร้างได้ง่ายกว่าโปรแกรมการสอนเนื้อหารายละเอียดที่ ได้กล่าวแล้วในหัวข้อ
ก่อนโปรแกรมการฝึกทักษะอาจเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะเฉพาะอย่าง เช่น
ทักษะการบวกเลข ทักษะด้านคำศัพท์ ทักษะการอ่านแผนที่
เป็นต้นโปรแกรมประเภทนี้นิยมใช้กันมากในวิชาคณิตศาสตร์ การเรียนภาษา
หรือภาษาต่างประเทศการฝึกทักษะเหล่านี้มักจะใช้
คำถามเป็นจำนวนมากซึ่งบางครั้งเรียกว่าคลังข้อคำถาม(Item Pool) นอกจากนี้ข้อคำถามที่ดีควรได้ ผ่านการวิเคราะห์ค่าสถิติ
เช่นระดับความยาก-ง่าย อำนาจจำแนก เป็นต้น
โปรแกรมการฝึกทักษะที่ดีควรมีการประเมินข้อบกพร่องของนักเรียนว่าจำเป็นต้องฝึกหัดที่ระดับความรู้ระดับใด
และบอกสาเหตุของความบกพร่องในการตอบผิด เช่น การฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องของรูปทรง
3. การจำลองสถานการณ์ (Simulations)
โปรแกรมการจำลองสถานการณ์ในการเรียนการสอน
เป็นวิธีการเลียนแบบหรือสร้างสถานการณ์เพื่อทดแทนสภาพจริงในชีวิตประจำวัน
สำหรับการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเนื่องจากในบางครั้งการฝึกและทดลองจริงอาจมีราคาแพง
หรือมีความเสี่ยงอันตรายสูง เช่น การจำลองสถานการณ์การบิน
การจำลองการเกิดปฏิกิริยาของนิวเคลียร์ หรือการจำลองการทำงานของแผงวงจรไฟฟ้า
เป็นต้น
ซึ่งการจำลองสถานการณ์ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมด้วย
เช่นการควบคุมเหตุการณ์การตัดสินใจ การโต้ตอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จำลองได้โดยที่ในชีวิตจริงนักเรียนไม่อาจสามารถแสดงปฏิกิริยาเหล่านี้
ได้ อย่างไรก็ตามในสถานการณ์จำลองย่อมลดความยุ่
งยากซับซ้อนให้น้อยกว่าเหตุการณ์จริงเช่น ลดรายละเอียด ลดโอกาสที่จะเกิดขึ้น
เป็นต้น และในสถานการณ์จำลองนี้นักเรียนต้องแก้ใขปัญหาโดยการเรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการด้วยตนเองจนเกิดความเข้าใจในคุณลักษณะต่างๆในที่สุด รวมทั้งการเรียนรู้วิธีการควบคุมเหตุการณ์เหล่านั้น หรือเรียนรู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
จุดมุ่งหมายของการใช้โปรแกรมสถานการณ์จำลอง เพื่อช่วยให้นักเรียนได้
สร้างรูปแบบการทดสอบเหตุการณ์ต่างๆอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเช่น
การจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้าซึ่ง
4. เกมการสอน (Instructional
games)
การใช้โปรแกรมเกมเพื่อการสอนกำลังเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากเป็นสิ่ง
ที่ท้าทายความมานะพยายามและสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้โดยง่าย
นอกจากนี้การใช้เกมยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้ดีขึ้นเนื่องจากมีภาพ
แสงสี เสียงและกราฟิกที่ มีการเคลื่อนไหวได้ จึงทำให้นักเรี ยนตื่นตัวอยู่เสมอ
รูปแบบของโปรแกรมเกมเพื่อการสอนคล้ายคลึงกับโปรแกรมบทเรียนสถานการณ์จำลองแต่แตกต่างกัน
โดยการเพิ่มบทบาทของนักเรียนเข้าไปในการใช้โปรแกรมเกมการสอนด้วย
5. การทดสอบ (Tests)
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทดสอบ มี
บทบาทในการเป็นเครื่องมือประเมินผลการเรียนของนักเรียนทั้งก่อนเริ่มเรียน
ระหว่างเรียนและหลังการเรียน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้สอนมีความรู้สึกเป็นอิสระจากการกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการทดสอบอีกด้วย
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยเปลี่ยนแปลงการทดสอบแบบเดิมๆให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนได้โดยอาจจะให้ผลย้อนกลับโดยทันทีหรือประเมินผลหลังจากทำแบบทดสอบเสร็จ
ซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไป
ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือ ช่วยลดความ แตกต่างระหว่างผู้เรียน
เช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ
ก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้
และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้าก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอน
ก็เป็นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น